เนื้อหา

เนื้อหาต่อมไร้ท่อต่ำแหน่งต่างๆ
- วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ต่อมหมวกไต (Adrenal Gland,Suprarenal Gland)



อยู่เหนือไตทั้งสองข้าง แต่ละข้างมี 2 ชั้น ชั้นนอกผลิตฮอร์โมนแอลโดสเตอโรล ชั้นในผลิตฮอร์โมนอะดรีนาลินและนอร์อะดรีนาลิน และโดปามีน




ฮอร์โมนที่สังเคราะห์และหลั่ง จากต่อมหมวกไตชั้นนอก 

มี 3 ชนิด ได้แก่

1.ฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ ( Glucocorticoids ) : คอร์ดิซอล


ทำหน้าที่ เพิ่มระดับน้ำตาลในกระแสเลือด โดยจะกระตุ้นเซลล์ตับให้เปลี่ยนกรดไขมันและกรดอะมิโนบางตัวเป็นกลูโคส และเก็บสะสมไว้ในรูปของไกลโคเจน แล้วจะเปลี่ยนจากไกลโคเจนให้เป็นกลูโคสเพื่ื่อปล่อยเข้่าสู่กระแสเลือดเมื่อต้องการเพิ่มระดับน้ำตาลในกระแสเลือดซึ่งเป็นขบวนการที่สำคัญ

มากกว่าปกติ จะทำให้เกิดโรคคูชชิง ( Cushing’s syndrome)
 

2.ฮอร์โมนมินเนอราโลคอร์ติคอยด์ (mineralocorticoid) : แอลโดสเตอโรน


ทำหน้าที่ ช่วยในการทำงานของไต
  • ในการดูดน้ำและNa+ กลับเข้าสู่ท่อหน่วยไต
  • ขับ K+ ออกจากท่อหน่วยไต
  • ควบคุมความสมดุลของฟอสเฟต

3.ฮอร์โมนเพศ (sex hormone)


ทำให้อวัยวะเพศเจริญได้อย่างปกติ

มากกว่าปกติ 
  • ทำให้เป็นหนุ่มสาวเร็ว
  • มีขนขึ้นตามร่างกาย
  • มีหนวดเคราในผู้หญิง


ฮอร์โมนที่สังเคราะห์และหลั่ง จากต่อมหมวกไตชั้นใน

มี 2 ชนิด ได้แก่ 

1.ฮอร์โมนเอพิเนฟริน ( epinephrine hormone ) หรือ อะดรีนาลิน (adrenalin hormone )


หน้าที่
  • เปลี่ยน ไกลโคเจนในตับให้เป็นกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือดทำมีระดับกลูโคสเพิ่มขึ้นในกระแสเลือดการเผาผลาญอาหารเพิ่มมากขึ้น ทำให้ร่างกายมีพลังมากขึ้น
  • กระตุ้นให้หัวใจบีบตัวแรงและเร็วขึ้น ทำให้เลือดลำเลียงออกซิเจนและกลูโคสไปให้เซลล์ร่างกายได้มากขึ้น
  • หลอดเลือดแดงขนาดเล็กที่บริเวณอวัยวะภายในต่างๆขยายตัว
  • หลอดเลือดแดงขนาดเล็กที่บริเวณผิวหนังและช่องท้องหดตัว


2.ฮอร์โมนนอร์อิพิเนฟริน ( norepinephrine hormone ) หรือ นอร์อะดรีนาลิน (noradrenalin hormone )


หน้าที่
  • เปลี่ยน ไกลโคเจนในตับให้เป็นกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือดทำมีระดับกลูโคสเพิ่มขึ้นในกระแสเลือด
  • การเผาผลาญอาหารเพิ่มมากขึ้น ทำให้ร่างกายมีพลังมากขึ้น
  • กระตุ้นให้หัวใจบีบตัวแรงและเร็วขึ้น ทำให้เลือดลำเลียงออกซิเจนและกลูโคสไปให้เซลล์ร่างกายได้มากขึ้น
  • หลอดเลือดแดงขนาดเล็กที่บริเวณอวัยวะภายในต่างๆหดหรือบีบตัว

**หมายเหตุ : การหลั่งฮอร์โมน 2 ชนิดนี้หลั่งมากในสภาวะร่างกายประสบเหตุตื่นเต้นหรือฉุกเฉิน เช่น ไฟไหม้,วิ่งหนีตำรวจ



ในวงการแพทย์ใช้ cortisol เป็นยาลดการอักเสบและรักษาโรคภูมิแพ้ ถ้ามีฮอร์โมนนี้มากเกินไป จะทำให้อ้วน อ่อนแอ หน้ากลมคล้ายดวงจันทร์ ท้องลาย น้ำตาลในเลือดสูง (Cushing syndrome) 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขอบคุณสำหรับการเข้าชม