เนื้อหา

เนื้อหาต่อมไร้ท่อต่ำแหน่งต่างๆ
- วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ต่อมไทรอยด์ (Thyroid Gland) และ ต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid Gland)




ต่อมไทรอยด์ (THYROID GLAND)

เป็นต่อมแรกที่ได้ชื่อว่าต่อมไร้ท่อ มี 2 พูเชื่อมต่อกันด้วยอิสมัส อยู่ข้างกล่องเสียง ฮอร์โมนที่ผลิตจะมีไอโอดีนเป็นส่วนประกอบ

ต่อมไทรอยด์ (Thyroid Gland) อยู่หน้าท่อลม(trachea)

มีรูปร่างคล้ายผีเสื้อ ประกอบด้วย 2 กลีบ (lobes) เชื่อมกันโดยแถบเล็กๆ เรียกisthmus





ฮอร์โมนที่สังเคราะห์และหลั่ง จากต่อมไทรอยด์ (Thyroid Gland)

มี 2 ชนิด ได้แก่

1.thyroxin

สร้างมาจากกรดอะมิโนกับไอโอดีน ช่วยทาให้รู้สึกกระฉับกระเฉง


  • ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกายให้เป็นไปตามปกติ 
  • ควบคุมอัตราการเผาผลาญสารอาหาร 
  • ควบคุม metabolic rate - ใช้ออกซิเจนเพิ่ม หายใจแรง


2.calcitonin

  • ลดระดับแคลเซียมและฟอสเฟตในกระแสเลือด โดยนาไปเก็บที่กระดูก




Thyroid Gland : สภาวะผิดปกติ



Exophthalmic goiter (Grave’s disease)


ฮอร์โมน thyroxine มากไป (hyperthyroidism) จะ ทาให้เกิดอาการที่เรียกว่า ไทรอยด์เป็นพิษหรือโรคคอพอกเป็นพิษ (toxic goiter) มีอัตราmetabolismสูงกว่าปกติ อาการเหมือนมีการสร้างพลังงานหรือกระตุ้นประสาทซิมพาเทติกทางานมากเกินไป อาจมีอาการคอพอกแต่ไม่มากและตาโปน




Simple goiter

ถ้าร่างกายได้รับไอโอดีนไม่เพียงพอจะส่งผลให้มีการผลิตthyroxineได้น้อย (hypothyroidism) กระตุ้นต่อมไทรอยด์ ให้สร้าง thyroxine เพิ่มขึ้นจนต่อมไทรอยด์ ทางานมากเกินไป ต่อมจะขยายขนาดโตขึ้นทาให้เกิดเป็นโรคคอพอก (simple goiter)




โรคเอ๋อหรือ cretinism

การขาดthyroxineในทารกแรกเกิดมีความสาคัญต่อการเจริญเติบโตมากโดยเฉพาะสมอง ปัญญาอ่อน แขน ขาสั้น หน้าและมือบวม ผิวหยาบแห้ง ผมบาง ไม่เจริญเติบโต รูปร่างเตี้ยแคระ






ต่อมพาราไทรอยด์ (PARATHYROID GLAND)


ต่อมพาราไทรอยด์
(para = beside) เป็นต่อมไร้ท่อขนาดเล็กฝังตัวอยู่ทางด้านหลังของไทรอยด์ 2 ข้าง ข้างละ 2 ต่อม

ฮอร์โมนที่สังเคราะห์และหลั่ง จากต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid Gland)

มี 2 ชนิด ได้แก่ 

1.Parathyroid hormone (Parathormone )

•อวัยวะเป้าหมาย : กระดูก ท่อหน่วยไต และ ลำไส้เล็ก
•มีหน้าที่เพิ่มระดับ Ca2+ และ ฟอสเฟตในกระแสเลือด

2.ไฮโปพาราไทรอยด์ (Hypoparathyroidism)

PTH น้อยกว่าปกติ มักเกิดจากการตัดต่อมไทรอยด์ และตัดต่อมพาราไทรอยด์ออกด้วย ส่งผลให้การดูดแคลเซียมกลับที่ท่อหน่วยไตลดน้อยลง แคลเซียมสูญเสียออกไปกับน้าปัสสาวะ ทาให้ระดับแคลเซียมในเลือดลดลง ฟอสเฟตสูงขึ้น ดังนั้นเมื่อมีบาดแผลจะทาให้เลือดไหลไม่หยุด ระบบประสาทและกล้ามเนื้อไวต่อสิ่งเร้า มีอาการชาตามมือตามเท้า เป็นตะคริว ชักกระตุก กล้ามเนื้อเกร็งที่เรียกว่า Tetany หรืออาจถึงขั้นปอดทางานไม่ได้ จนเสียชีวิตได้







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขอบคุณสำหรับการเข้าชม